บทบาทของกรมสนธิสัญญาและกฎหมายในการร่วมพัฒนากฎหมายระหว่างประเทศในกรอบการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ และคณะกรรมการ ๖ (กฎหมาย)

สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (United Nations General Assembly: UNGA) เป็นหนึ่งในหกองค์กรหลักขององค์การสหประชาชาติ๑ ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมดขององค์การสหประชาชาติจำนวน ๑๙๓ ประเทศ มีอำนาจหน้าที่ในการอภิปรายประเด็นปัญหาต่างๆ ภายในขอบเขตของกฎบัตรสหประชาชาติ และทำคำแนะนำไปยังสมาชิกขององค์การสหประชาชาติหรือคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ทั้งในเรื่องการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ การลดอาวุธ กรณีพิพาทระหว่างประเทศ การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านการเมือง และสนับสนุนพัฒนาการก้าวหน้าของกฎหมายระหว่างประเทศ (progressive development of international law) และการประมวลกฎหมาย (codification) ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษาและอนามัย และช่วยเหลือด้านสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพพื้นฐานโดยไม่เลือกปฏิบัติ นอกจากนี้ ยังดูแลเรื่องงบประมาณและการบริหารองค์การสหประชาชาติ ซึ่งการประชุมสมัยสามัญของ UNGA จะเริ่มตั้งแต่กลางเดือนกันยายนเป็นต้นไป
เนื่องจากภารกิจที่มีความหลากหลาย UNGA จึงได้จัดตั้งคณะกรรมการหลักขึ้น ๖ คณะ รับผิดชอบประเด็นที่แตกต่างกัน ดังนี้
คณะกรรมการ ๑ - การลดอาวุธและความมั่นคงระหว่างประเทศ
คณะกรรมการ ๒ - เศรษฐกิจ การเงิน และการพัฒนา
คณะกรรมการ ๓ - สังคม สิทธิมนุษยชน มนุษยธรรมและวัฒนธรรม
คณะกรรมการ ๔ - การเมืองพิเศษและการปลดปล่อยอาณานิคม
คณะกรรมการ ๕ – การบริหารจัดการและงบประมาณ
คณะกรรมการ ๖ – กฎหมาย
คณะกรรมการ ๖ (กฎหมาย) เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้ผู้แทนรัฐสมาชิกองค์การสหประชาชาติได้ร่วมอภิปรายและหารือในประเด็นกฎหมายระหว่างประเทศที่อยู่ในความสนใจของรัฐสมาชิก คณะกรรมการ ๖ จะจัดการประชุมประจำปีในห้วงระหว่างต้นเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนพฤศจิกายนของทุก ๆ ปี
ประเด็นกฎหมายระหว่างประเทศที่มีการหารือในการประชุมคณะกรรมการ ๖ มีทั้งประเด็นที่หารือต่อเนื่องกันเป็นประจำทุกปี อาทิ มาตรการเพื่อขจัดการก่อการร้ายสากล หลักนิติธรรม ขอบเขตและการบังคับใช้หลักเขตอำนาจสากล โครงการช่วยเหลือในการเรียน การสอน การเผยแพร่และการเพิ่มพูนความสำคัญ ของกฎหมายระหว่างประเทศ และประเด็นที่มีการหารือทุก ๆ ๒ หรือ ๓ ปี อาทิ การคุ้มครองบุคคลในกรณีภัยพิบัติ การขับไล่คนต่างด้าว ผลของการขัดกันทางอาวุธต่อสนธิสัญญา และความรับผิด ขององค์การระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมีกลไกอื่นของ UNGA ที่ทำหน้าที่พัฒนากฎหมายระหว่างประเทศและต้องเสนอรายงานให้คณะกรรมการ ๖ พิจารณาเป็นประจำทุกปี คือ คณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศ (International Law Commission – ILC) และคณะกรรมาธิการกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ (United Nations Commission on International Trade Law – UNCITRAL)
คณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศ (International Law Commission: ILC) มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดหลักนิติธรรม และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของหลักการและระบบกฎหมายระหว่างประเทศ โดยผลงานของ ILC มีส่วนช่วยผลักดันให้เกิดการอภิปรายและเจรจาจัดทำอนุสัญญาระหว่างประเทศในประเด็นกฎหมายระหว่างประเทศที่สำคัญ ๆ อาทิ กฎหมายสนธิสัญญา ความคุ้มกันทางทูตและทางกงสุล ความรับผิดของรัฐ โดย ILC จะเสนอรายงานประจำปี ข้อแนะนำ และร่างข้อบท (draft articles/ principles/guidelines) ในประเด็นกฎหมายระหว่างประเทศต่าง ๆ ต่อสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติผ่านที่ประชุมคณะกรรมการ ๖ ทั้งนี้ ILC เป็นองค์กรย่อย หรือที่เรียกว่า subsidiary organ ของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ อันประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้มีความสามารถด้านกฎหมายระหว่างประเทศจำนวน ๓๔ คน จาก ๕ ภูมิภาค โดยจัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๔๗ เพื่อทำหน้าที่เป็นกลไกขับเคลื่อนภารกิจด้านการประมวลและพัฒนาการก้าวหน้าของกฎหมายระหว่างประเทศตามข้อ ๑๓ (เอ) ของกฎบัตรสหประชาชาติ
นอกเหนือจากการส่งคำตอบต่อแบบสอบถามของ ILC แล้ว การกล่าวถ้อยแถลงของผู้แทนรัฐสมาชิกเกี่ยวกับประเด็นกฎหมายระหว่างประเทศต่างๆ ในการประชุมคณะกรรมการ ๖ ในระเบียบวาระเรื่อง “รายงานการดำเนินการของ ILC” จะช่วยทำให้ ILC ได้รับทราบแนวปฏิบัติของรัฐ (State Practice) ในประเด็นกฎหมายระหว่างประเทศนั้น ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่งานประมวลกฎหมายจารีตประเพณี และการพัฒนาการก้าวหน้าของกฎหมายระหว่างประเทศ ของ ILC ต่อไป
กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนากฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของประเทศไทยในกรอบของคณะกรรมการ ๖ อาทิ การเข้าร่วมการประชุมและกล่าวถ้อยแถลงในประเด็นที่ไทยให้ความสำคัญ การเข้าร่วมพิจารณาจัดทำข้อมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเพื่อส่งเสริมบทบาทและรักษาผลประโยชน์ของไทย การติดตามการอภิปรายในประเด็นต่าง ๆ เพื่อนำมาประกอบการกำหนดท่าทีที่เหมาะสมของไทยในประเด็นกฎหมายระหว่างประเทศที่อยู่ระหว่างการหารือ โดยกรมสนธิสัญญาและกฎหมายจะส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมใหญ่ของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ และการประชุมคณะกรรมการ ๖ (กฎหมาย) เป็นประจำทุกปี ระหว่างเดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคมของทุกปี ซึ่งประเทศไทยจะนำประเด็นข้อกฎหมายระหว่างประเทศในกรอบสหประชาชาติไปพัฒนาในกรอบภูมิภาค ในระดับทวิภาคีและในระดับประเทศต่อไป
* * * * * * * * * *
กลุ่มวิชาการและสารสนเทศกฎหมายระหว่างประเทศ
เผยแพร่: วันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๔
เพิ่มเติมข้อมูลล่าสุด : ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๔
๑ ตามข้อ ๗ ของกฎบัตรสหประชาชาติ องค์กรหลักขององค์การสหประชาชาติประกอบด้วย สมัชชาใหญ่ คณะมนตรี ความมั่นคง คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะมนตรีภาวะทรัสตี ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ และสำนักเลขาธิการ
ถ้อยแถลงของฝ่ายไทยในที่ประชุมคณะกรรมการ ๖ (กฎหมาย) ระหว่างการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ ๗๖
ระเบียบวาระที่ ๘๗ "การคุ้มครองบุคคลในเหตุการณ์ภัยพิบัติ (Protection of persons in the event of disasters)"
- การกล่าวถ้อยแถลงของผู้แทนไทยในที่ประชุมคณะกรรมการ ๖ (กฎหมาย) ดูรายละเอียด
- ถ้อยแถลง (Statement) ของฝ่ายไทย แสดงมุมมองด้านกฎหมายระหว่างประเทศและท่าทีของไทยต่อร่างข้อบทของคณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศ (International Law Commission - ILC) ว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลในเหตุการณ์ภัยพิบัติ (Draft Articles on Protection of Persons in the Event of Disasters) ดูถ้อยแถลงฉบับเต็ม
- ร่างข้อบทของคณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลในเหตุการณ์ภัยพิบัติ ดูรายละเอียด
ระเบียบวาระที่ ๘๒ "รายงานผลการประชุมสมัยที่ ๗๒ ของคณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศ (Report of the International Law Commission on the work of its seventy-second session)"
- การกล่าวถ้อยแถลงของผู้แทนไทยในที่ประชุมคณะกรรมการ ๖ (กฎหมาย)
- การปกป้องชั้นบรรยากาศ (Protection of the Atmosphere) และการใช้สนธิสัญญาเป็นการชั่วคราว (Provisional application of treaties) ดูถ้อยแถลงฉบับเต็ม
- ความคุ้มกันของเจ้าหน้าที่ของรัฐจากเขตอำนาจทางอาญาของศาลต่างประเทศ (Immunity of State officials from foreign criminal jurisdiction) และการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล (Sea-level rise) ดูถ้อยแถลงฉบับเต็ม
- หลักการทั่วไปของกฎหมาย (General Principles of Law) ดูถ้อยแถลงฉบับเต็ม
- ILC's Text of the Draft Guidelines on the Protection of the Atmosphere See more
- ILC's Text of the Guide to Provisional Application of Treaties See more
ระเบียบวาระที่ ๘๑ "โครงการช่วยเหลือแห่งสหประชาชาติในการเรียน การสอน การเผยแพร่และการเพิ่มพูนความสำคัญของกฎหมายระหว่างประเทศ (United Nations Programme of Assistance in the Teaching, Study, Dissemination and Wider Appreciation of International Law)"
- การกล่าวถ้อยแถลงของผู้แทนไทยในที่ประชุมคณะกรรมการ ๖ (กฎหมาย) ดูรายละเอียด
- ถ้อยแถลง (Statement) ดูถ้อยแถลงฉบับเต็ม
- ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับโครงการฝึกอบรมหลักสูตรกฎหมายระหว่างประเทศสำหรับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกของสหประชาชาติ ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพมาแล้ว 7 ครั้ง คลิก
- ห้องสมุดโสตทัศนูปกรณ์กฎหมายระหว่างประเทศของสหประชาชาติ (UN Audiovisual Library of International Law) คลิก
ระเบียบวาระที่ ๘๕ เรื่องหลักนิติธรรมในระดับประเทศและระหว่างประเทศ (The rule of law at the national and international levels)
- การกล่าวถ้อยแถลงของผู้แทนไทยในที่ประชุมคณะกรรมการ ๖ (กฎหมาย) ดูรายละเอียด
- ถ้อยแถลง (Statement) ดูถ้อยแถลงฉบับเต็ม
บทความที่น่าสนใจ
- บทสัมภาษณ์นายจิตติชัย พัชรเดชาธร นักการทูตปฏิบัติการ กรมสนธิสัญญาและกฎหมายในฐานะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการหก (กฎหมาย) ระหว่างการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 76 ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก ระหว่างเดือนกันยายน - ธันวาคม 2564 อ่านเพิ่มเติม คลิก
สนธิสัญญาที่น่าสนใจ (ฉบับมีคำแปลภาษาไทย)
ASEAN Charter
-
ดูเอกสาร
- English
- คำแปลภาษาไทย
Convention on the Privileges and Immunities of the Specialized Agencies
-
ดูเอกสาร
- English
- คำแปลภาษาไทย
Convention on the Privileges and Immunities of the United Nations
-
ดูเอกสาร
- English
- คำแปลภาษาไทย
UN Charter
-
ดูเอกสาร
- English
- คำแปลภาษาไทย
United Nations Convention on the Law of the Sea (UNCLOS)
-
ดูเอกสาร
- English
- คำแปลภาษาไทย
Vienna Convention on Consular Relations (VCCR)
-
ดูเอกสาร
- English
- คำแปลภาษาไทย
Vienna Convention on Diplomatic Relations (VCDR)
-
ดูเอกสาร
- English
- คำแปลภาษาไทย
สนธิสัญญาที่น่าสนใจ (ฉบับไม่มีคำแปลภาษาไทย)
Agreement Establishing the World Trade Organization 1994
-
ดูเอกสาร
- English
Agreement For the Implementation of Provisions of the UN Convention on the Law of the Sea (Fish Stocks) 1995
-
ดูเอกสาร
- English
Convention on the Law of the Non-Navigational Uses of International Watercourses 1997
-
ดูเอกสาร
- English
Convention on the Prevention and Punishment of Crimes Against Internationally Protected Persons 1973
-
ดูเอกสาร
- English
Convention Suppression Unlawful Acts Against Safety Civil Aviation 1971
-
ดูเอกสาร
- English
International Convention for the Suppression of Acts of Nuclear Terrorism 2005
-
ดูเอกสาร
- English
International Convention for the Suppression of the Financing of Terrorism 1999
-
ดูเอกสาร
- English
International Convention on Economic Social and Cultural rights 1966
-
ดูเอกสาร
- English
International Convention on the Elimination of all Forms of Racial Discrimination 1965
-
ดูเอกสาร
- English
State Immunity Act 1978
-
ดูเอกสาร
- English
Statute of the International Court of Justice 1945
-
ดูเอกสาร
- English
Treaty on Principles Governing the Activities of States in the Exploration and Use of Outer Space 1967
-
ดูเอกสาร
- English
UN Convention on Jurisdictional Immunities 2004
-
ดูเอกสาร
- English
Vienna Convention on Succession of States in Respect of Treaties 1978
-
ดูเอกสาร
- English
Vienna Convention on the Law of Treaties 1969
-
ดูเอกสาร
- English