เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๔ นางเอกสิริ ปิณฑะรุจิ เอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก ได้ยื่นตราสารการยอมรับธรรมนูญของที่ประชุมแห่งกรุงเฮกว่าด้วยกฎหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีบุคคลในนามประเทศไทย ต่อผู้แทนรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ ซึ่งทำหน้าที่ผู้เก็บรักษาธรรมนูญฯ มีผลให้ไทยเข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ ๘๘ ของที่ประชุมแห่งกรุงเฮกว่าด้วยกฎหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีบุคคล โดยสมบูรณ์
ที่ประชุมแห่งกรุงเฮกว่าด้วยกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล (Hague Conference on Private International Law) หรือ HCCH เป็นองค์การระหว่างประเทศระดับรัฐบาล ก่อตั้งเมื่อปี ๒๔๓๖ มีบทบาทสำคัญในการพัฒนากฎหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีบุคคล เพื่อวางกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการปฏิสัมพันธ์ข้ามพรมแดนของประชาชนและภาคเอกชน อาทิ การรับบุตรบุญธรรม การลักพาตัวเด็กข้ามชาติ การยกเลิกการนิติกรณ์หรือการรับรองเอกสารสำหรับเอกสารทางการจากต่างประเทศ หรือการยอมรับและการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลต่างประเทศในคดีแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งนอกจากจะมีส่วนช่วยในการคุ้มครองสิทธิของบุคคล และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจแล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างระบบกฎหมายให้รองรับการเปลี่ยนแปลงของสังคมยุคปัจจุบันที่กิจกรรมข้ามพรมแดนกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น
ในฐานะสมาชิก HCCH ไทยสามารถมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางและพัฒนากฎหมายระหว่างประเทศ ที่จะอำนวยความสะดวกและกำกับดูแลกิจกรรมข้ามพรมแดนของประชาชนในประเด็นที่ไทยให้ความสำคัญและสอดคล้องกับผลประโยชน์ของไทย ทั้งนี้ ปัจจุบัน มีอนุสัญญาในกรอบ HCCH จำนวน ๓๘ ฉบับ ไทยเป็นภาคีแล้ว ๒ ฉบับ ได้แก่ อนุสัญญากรุงเฮก ว่าด้วยลักษณะทางแพ่งในการลักพาตัวเด็กระหว่างประเทศ ค.ศ. ๑๙๘๐ และอนุสัญญากรุงเฮก ว่าด้วยความร่วมมือในการรับบุตรบุญธรรมระหว่างประเทศ ค.ศ. ๑๙๙๓
ปัจจุบัน HCCH มีสมาชิกทั้งหมด ๘๘ ประเทศ จากทุกภูมิภาคทั่วโลก โดยมีประเทศ
ในภูมิภาคอาเซียนที่เป็นสมาชิก ได้แก่ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม สิงคโปร์ และไทย
อ่านเพิ่มเติม : https://www.hcch.net/en/news-archive/details/?varevent=793
Press Release – Thailand became the 88th member of the Hague Conference on Private International Law (HCCH)
On 3 March 2021, H.E. Ms. Eksiri Pintaruchi, Ambassador of the Kingdom of Thailand to the Kingdom of the Netherlands, deposited Thailand’s Instrument of Acceptance to the Government of the Netherlands, the depositary of the Statute, making Thailand the 88th member of the Hague Conference on Private International Law.
The Hague Conference on Private International Law (HCCH) is an intergovernmental organization, established in 1893, with the purpose to develop the rules of private international law in order to establish the frameworks that facilitate cross-border co-operation in civil and commercial matters. The HCCH's work covers challenging cross-border issues including child adoption, child abduction, abolition of the requirement of legalisation for foreign public documents and the recognition and enforcement of foreign judgments in civil or commercial matters. Not only do they serve to guarantee individual rights’ protection and improve businesses’ competencies, but the HCCH Conventions also promote the legal system that is conducive to modern-day cross-border personal and economic activities which become more common nowadays.
As a HCCH member, Thailand will be able to participate in the development of rules of private international law which facilitate and govern cross-border activities in the areas which correspond well with Thailand's interests. At present, there are 38 HCCH Conventions in total. Thailand is party to two, namely the Hague Convention on the Civil Aspects of International Child Abduction, 1980 and the Hague Convention on the Protection of Children and Cooperation in respect of Inter-Country Adoption, 1993
88 Members of the HCCH represent all continents in the world including five ASEAN countries namely Malaysia, the Philippines, Vietnam, Singapore and Thailand
Further information: https://www.hcch.net/en/news-archive/details/?varevent=793
เผยแพร่วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๖๔
Published: 22 March 2021
สนธิสัญญาที่น่าสนใจ (ฉบับมีคำแปลภาษาไทย)
ASEAN Charter
-
ดูเอกสาร
- English
- คำแปลภาษาไทย
Convention on the Privileges and Immunities of the Specialized Agencies
-
ดูเอกสาร
- English
- คำแปลภาษาไทย
Convention on the Privileges and Immunities of the United Nations
-
ดูเอกสาร
- English
- คำแปลภาษาไทย
UN Charter
-
ดูเอกสาร
- English
- คำแปลภาษาไทย
United Nations Convention on the Law of the Sea (UNCLOS)
-
ดูเอกสาร
- English
- คำแปลภาษาไทย
Vienna Convention on Consular Relations (VCCR)
-
ดูเอกสาร
- English
- คำแปลภาษาไทย
Vienna Convention on Diplomatic Relations (VCDR)
-
ดูเอกสาร
- English
- คำแปลภาษาไทย
สนธิสัญญาที่น่าสนใจ (ฉบับไม่มีคำแปลภาษาไทย)
Agreement Establishing the World Trade Organization 1994
-
ดูเอกสาร
- English
Agreement For the Implementation of Provisions of the UN Convention on the Law of the Sea (Fish Stocks) 1995
-
ดูเอกสาร
- English
Convention on the Law of the Non-Navigational Uses of International Watercourses 1997
-
ดูเอกสาร
- English
Convention on the Prevention and Punishment of Crimes Against Internationally Protected Persons 1973
-
ดูเอกสาร
- English
Convention Suppression Unlawful Acts Against Safety Civil Aviation 1971
-
ดูเอกสาร
- English
International Convention for the Suppression of Acts of Nuclear Terrorism 2005
-
ดูเอกสาร
- English
International Convention for the Suppression of the Financing of Terrorism 1999
-
ดูเอกสาร
- English
International Convention on Economic Social and Cultural rights 1966
-
ดูเอกสาร
- English
International Convention on the Elimination of all Forms of Racial Discrimination 1965
-
ดูเอกสาร
- English
State Immunity Act 1978
-
ดูเอกสาร
- English
Statute of the International Court of Justice 1945
-
ดูเอกสาร
- English
Treaty on Principles Governing the Activities of States in the Exploration and Use of Outer Space 1967
-
ดูเอกสาร
- English
UN Convention on Jurisdictional Immunities 2004
-
ดูเอกสาร
- English
Vienna Convention on Succession of States in Respect of Treaties 1978
-
ดูเอกสาร
- English
Vienna Convention on the Law of Treaties 1969
-
ดูเอกสาร
- English