ไทยได้รับเลือกเป็นรองประธานการประชุมคณะกรรมาธิการกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ (United Nations Commission on International Trade Law: UNCITRAL) สมัยที่ ๕๕ ณ นครนิวยอร์ก

ไทยได้รับเลือกเป็นรองประธานการประชุมคณะกรรมาธิการกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ (United Nations Commission on International Trade Law: UNCITRAL) สมัยที่ ๕๕ ณ นครนิวยอร์ก

วันที่นำเข้าข้อมูล 2 พ.ย. 2565

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 4 ม.ค. 2566

| 448 view

Thailand elected as a Vice-Chair of the 55th Session of the United Nations Commission on International Trade Law: UNCITRAL

At the 55th Session of United Nations Commission on International Trade Law (UNCITRAL) during 27 June – 15 July 2022,
Mrs. Suphanvasa Chotikajan Tang, Director-General of the Department of Treaties and Legal Affairs, was elected as a Vice-Chair

 

During the meeting, the Thai delegation made interventions on several issues of particular interest to Thailand which were under the consideration  of the Commission, namely, the progress of Working Group I concerning Micro, Small and Medium-sized Enterprises and Working Group III concerning the reform of Investor-State Dispute Settlement as well as the possible topics for future work of Working Group II (Dispute Settlement)

 

This year also saw the completion of several new instruments with the Commission having approved the draft Convention on the International Effects of Judicial Sales of Ships, the Recommendations to assist mediation centres and other interested bodies with regard to mediation under the UNCITRAL Mediation Rules, and the Model Law on the Use and Cross-border Recognition of Identity Management and Trust Services.

 

UNCITRAL was established in 1966 as a subsidiary body of the UN General Assembly, comprising 70 member countries. It serves as the main mechanism of the United Nations in the development of international trade law.  Most recently, Thailand has just been elected for the term
2022 – 2028 which is Thailand’s 7th term.  Thailand has long benefited from a number of UNCITRAL’s legal instruments especially as models
for promulgating national legislation such as the Electronic Transaction Act B.E.
2544 (2001), the Arbitration Act B.E. 2545 (2002) and the Secured Transactions Act B.E. 2558 (2015).

 

************************

นางสุพรรณวษา โชติกญาณ ถัง อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองประธานในการประชุมคณะกรรมาธิการกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ (United Nations Commission on International Trade Law: UNCITRAL) สมัยที่ ๕๕ ระหว่างวันที่ ๒๗ มิถุนายน - ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๕

การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมครั้งแรกภายหลังไทยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิก UNCITRAL ต่อเป็นสมัยที่ ๗ โดยคณะผู้แทนไทยได้กล่าวถ้อยแถลงเพื่อแสดงท่าทีของไทย
ในระเบียบวาระที่อยู่ในความสนใจ ได้แก่ คณะทำงาน ๑ เรื่องการลดอุปสรรคทางกฎหมายสำหรับวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSMEs) คณะทำงาน ๓
ว่าด้วยการปฏิรูปกลไกการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชน (Investor-State Dispute Settlement Reform) และการทำงานในอนาคตของ UNCITRAL ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ การทำงานของคณะทำงาน ๒ เรื่องการระงับข้อพิพาท

นอกจากนั้น การประชุมฯ สมัยที่ ๕๕ ยังได้พิจารณาเห็นชอบร่างอนุสัญญาว่าด้วยผลทางระหว่างประเทศของการขายเรือโดยกระบวนการทางศาล (Convention on the international effects of judicial sales of ships) ข้อแนะนำเพื่อให้ความช่วยเหลือศูนย์ไกล่เกลี่ยและองค์กรอื่น ๆ ที่สนใจเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยภายใต้ข้อบังคับ
การไกล่เกลี่ยของ UNCITRAL (Recommendations to assist mediation centres and other interested bodies with regard to mediation under the UNCITRAL Mediation Rules) และกฎหมายแม่แบบว่าด้วยการใช้และการยอมรับการบริหารจัดการด้านการระบุตัวตนของผู้ใช้งานและระบบการสร้างความไว้วางใจข้ามพรมแดน    (Model Law on the Use and Cross-border Recognition of Identity Management and Trust Services)

UNCITRAL ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ๒๕๐๙ (ค.ศ. ๑๙๖๖) เป็นกลไกที่สำคัญของสหประชาชาติในการพัฒนากฎหมายการค้าระหว่างประเทศ และมีสมาชิกทั้งหมด ๗๐ ประเทศ
ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยสมัชชาสหประชาชาติ โดยไทยได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิก UNCITRAL สมัยล่าสุด วาระปี ค.ศ. ๒๐๒๒ - ๒๐๒๘ ซึ่งเป็นการได้รับเลือกตั้ง   สมัยที่ ๗ ของไทย ทั้งนี้ ไทยได้ใช้ประโยชน์จากผลงานของ UNCITRAL ในการพัฒนากฎหมายภายในของไทย โดยเฉพาะพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔ พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ  พ.ศ. ๒๕๔๕ และพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. ๒๕๕๘

* * * * *

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ