ปาฐกถา "สมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร"

ปาฐกถา "สมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร"

วันที่นำเข้าข้อมูล 17 ม.ค. 2566

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 25 ส.ค. 2566

| 6,820 view

ข้อมูลและภูมิหลัง

ไทยในฐานะภาคีอนุสัญญาเจนีวาฯ มีพันธกรณีภายใต้ข้อ 47 ของอนุสัญญาเจนีวาฉบับที่ 1 ข้อ 48 ของอนุสัญญาเจนีวาฉบับที่ 2 ข้อ 127 ของอนุสัญญาเจนีวาฉบับที่ 3 และข้อ 144 ของอนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 4 ซึ่งระบุว่า "อัครภาคีผู้ทำสัญญารับที่จะเผยแพร่ตัวบทแห่งอนุสัญญาฉบับนี้ในประเทศของตนอย่างกว้างขวางที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทั้งในยามสงบและในยามสงครามและโดยเฉพาะอย่างยิ่งให้รวมการศึกษาอนุสัญญาฉบับนี้เข้าในโครงการศึกษาของทหาร และถ้าเป็นได้ในโครงการศึกษาของพลเรือนด้วย เพื่อให้ประชากรโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทหารที่มีหน้าที่ทำการรบ พนักงานแพทย์และอนุศาสนาจารย์ ได้ทราบหลักการแห่งอนุสัญญานี้" [1]

 

ปาฐกถา "สมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร" เป็นกิจกรรมทางวิชาการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International Humanitarian Law) และเป็นเวทีที่ผู้ทรงคุณวุฒิระดับระหว่างประเทศจะได้แสดงทัศนะตลอดจนข้อพิจารณาต่าง ๆ ในการส่งเสริมการศึกษากฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ต่อส่วนราชการและหน่วยงานไทยที่เกี่ยวข้อง บุคลากรในสถาบันการศึกษา คณะทูตานุทูต ผู้แทนองค์การระหว่างประเทศและสาธารณชน [2] ทั้งนี้ ปาฐกถาฯ ยังเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินการตามพันธกรณีภายใต้ข้อบทของอนุสัญญาเจนีวาฯ ที่ระบุข้างต้นด้วย

 

กระทรวงการต่างประเทศร่วมกับสภากาชาดไทยได้จัดปาฐกถาฯ รวมทั้งหมด 9 ครั้ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานฯ ทั้ง 9 ครั้ง [3]

 

  • ครั้งที่ 1 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2546 โดยศาสตราจารย์ Daniel Thürer ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศจากมหาวิทยาลัยซูริกและสมาชิกคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (International Committee of the Red Cross - ICRC) บรรยายในหัวข้อเรื่อง "Contemporary Challenges in International Humanitarian Law" ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับความท้าทายต่าง ๆ ในการปฏิบัติตามกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ทั้งในเรื่องการเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ปัญหาเรื่องการก่อการร้าย และการดำเนินคดีกับปัจเจกชนที่ละเมิดกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ

 

  • ครั้งที่ 2 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2548 โดย ดร. Sadako Ogata อดีตข้าหลวงใหญ่ ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ซึ่งในขณะนั้น ดำรงตำแหน่งประธานองค์การ Japan International Cooperation Agency (JICA) บรรยายในหัวข้อเรื่อง “Human Security in Asia” เกี่ยวกับความร่วมมือในการส่งเสริมความมั่นคงของมนุษย์ในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นเรื่องของรัฐบาล แต่ภาคธุรกิจและภาคประชาสังคม ก็สามารถมีบทบาทดังกล่าวได้ อันจะเป็นการช่วยฟื้นฟูและลดผลกระทบของความขัดแย้งในพื้นที่ต่าง ๆ ของโลก [4]

 

  • ครั้งที่ 3 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2550 โดยศาสตราจารย์ Jacques Forster รองประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (Vice-President of the International Committee of the Red Cross) และศาสตราจารย์ประจำ Graduate Institute of Development Studies นครเจนีวา บรรยายในหัวข้อเรื่อง "International Humanitarian Law : the Recent International Developments, Regional Momentum and Opportunities for the Kingdom of Thailand" เกี่ยวกับ หลักการพื้นฐานของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ หลักการต่าง ๆ ในสนธิสัญญาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ อาทิ อนุสัญญาเจนีวา ค.ศ. 1949 พิธีสารเพิ่มเติมอนุสัญญาเจนีวา อนุสัญญาการต่อต้านการบังคับสูญหาย (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance) อนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้ สะสม ผลิตและโอน และการทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (Ottawa Convention - Convention on the Prohibition of the Use, Stockpiling, Production and Transfer of Anti-Personnel Mines and on their Destruction) อีกทั้ง ได้กล่าวถึงแนวโน้มและโอกาสสำหรับประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการพัฒนากฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ

 

  • ครั้งที่ 4 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 โดย Mr. David Andrews ประธานสภากาชาดไอร์แลนด์ และ General Sir Mike Jackson ที่ปรึกษาระหว่างประเทศ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ บรรยายในหัวข้อเรื่อง "Violence and Armed Conflicts: Challenges of Prevention, Protection and Reconciliation in International Law - the Case of Northern Ireland" กล่าวถึง ความท้าทายสำหรับการป้องกัน การยับยั้ง และกระบวนการปรองดองและสมานฉันท์ในกรณีที่มีความรุนแรง ความขัดแย้ง และการละเมิดกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ

 

  • ครั้งที่ 5 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555 โดย Mr. Richard Joseph Goldstone นักกฎหมายและผู้พิพากษาชาวแอฟริกาใต้ บรรยายในหัวข้อเรื่อง "The International Criminal Court: an Indispensable Mechanism for Prosecution of Violations of International Humanitarian Law" เกี่ยวกับบทบาทของศาลอาญาระหว่างประเทศในการปราบปรามอาชญากรรมระหว่างประเทศและการดำเนินคดีที่เกี่ยวกับการละเมิดกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอาชญากรรมสงคราม (War Crimes) และอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ (Crimes Agianst Humanity)

 

  • ครั้งที่ 6 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556 โดยศาสตราจารย์วิทิต มันตราภรณ์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรยายในหัวข้อเรื่อง "International Commissions of Inquiry, Humanitarian Law: The United Nations, Syria and Beyond" เกี่ยวกับบทบาทของคณะกรรมาธิการ ไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีเหตุการณ์ในซีเรียในการแสวงหาข้อเท็จจริงอย่างโปร่งใสและพิจารณาให้เกิดความแน่ชัดว่าเกิดการละเมิดกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ อันนำมาสู่การช่วยเสริมสร้างการคุ้มครองพลเรือนในยามขัดกันทางอาวุธ

 

  • ครั้งที่ 7 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2558 โดย Mr. Peter Maurer ประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ บรรยายในหัวข้อเรื่อง "Contemporary Challenges to Humanitarian Action" เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของงานด้านมนุษยธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปและมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น การปฏิบัติหน้าที่ตามกฏหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ผลกระทบทางด้านมนุษยธรรมที่เกิดจากอาวุธ เทคโนโลยีสมัยใหม่ การโยกย้ายถิ่นฐาน บุคคลสูญหายและครอบครัวของคนเหล่านั้น หลักการทำงานของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ และการทำงานของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศในระดับภูมิภาค

 

  • ครั้งที่ 8 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2560 โดย Ms. Elisabeth Rehn อดีตรองเลขาธิการสหประชาชาติ (ปี พ.ศ. 2541 - 2542) บรรยายในหัวข้อเรื่อง"The Role of Women in Securing Peace, Justice and Well-being" เกี่ยวกับบทบาทของสตรีในการดำเนินการด้านมนุษยธรรมต่าง ๆ อันมีส่วนช่วยในการสร้างสันติภาพความยุติธรรม และความผาสุกให้เกิดขึ้นในสังคม อาทิ การมีส่วนร่วมใน "UN Peacekeeping Operation" ในพื้นที่ต่าง ๆ หลังเกิดความขัดแย้ง

 

  • ครั้งที่ 9 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2562 โดย Dr. Hassan Wirajuda อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย บรรยายในหัวข้อเรื่อง"Aceh Peace Process (1999-2005): Keys to Final Solution" [5] เกี่ยวกับ มูลเหตุของความขัดแย้งในอาเจะฮ์ และปัจจัยและทัศนคติต่าง ๆ ของสังคมอินโดนีเซียที่ทำให้สังคมของอินโดนีเซียมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเจรจาเพื่อนำไปสู่ทางออกที่ยั่งยืนสำหรับความขัดแย้งในอาเจะฮ์

* * * * *

อ้างอิง

[1] The High Contracting Parties undertake, in time of peace as in time of war, to disseminate the text of the present Convention as widely as possible in their respective countries, and, in particular, to include the study thereof in their programmes of military and, if possible, civil instruction, so that the principles thereof may become known to the entire population, in particular to the armed fighting forces, the medical personnel and the chaplains.


[2] The Princess Maha Chakri Sirindhorn Lecture was first launched by the Thai Red Cross Society and the Ministry of Foreign Affairs in 2003. Since its inception, eight lectures have been organized once every two years. This lecture is organized for the purpose of promoting and disseminating knowledge on international humanitarian law to the general public as well as concerned authourties. Attendees are comprised of public officials, experts and practitioners in the humanitarian field, member of the diplomatic corps, representatives of international organizations and non-governmental organizations, academics, professors and students from various universities, cadets from Royal Thai Army schools and the Royal Police Cadet Academy.


[3] Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn, as Executive Vice-President of the Thai Red Cross Society, has presided over the Princess Maha Chakri Sirindhorn Lecture on International Humanitarian Law since 2003.
Promoting human security is not only the concern of the governments. Private businesses and civil society play a major role in strenthening the power of people and communities. This will open the door to the advancement of humanitarian law and order.


[4] The Lecture focused on the root cause of conflict in Aceh, and the key to success of the dialogue as follows: (1) the Government of Indonesia, at the time, welcomed new ideas and initiatives, which allowed the society to move towards participatory democracy; (2) empathize with the opposite side who are also Indonesian nationals; and (3) not leaving any problems to the next generation in order to prevent more aggravated and complicated situations as well as subversive activities. These factors led to a conducive atmosphere for negotiation and finally to the peaceful resolution of the Aceh conflict.

 

Contemporary Challenges in International Humanitarian Law
ปาฐกถา "สมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร" ครั้งที่ 1

 

Human Security in Asia
ปาฐกถา "สมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร" ครั้งที่ 2
ดูเอกสาร English

 

International Humanitarian Law - recent international developments, regional momentum and opportunities for the Kingdom of Thailand
ปาฐกถา "สมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร" ครั้งที่ 3

 

Violence and Armed Conflicts Challenges of Prevention, Protection and Reconciliation in International Law
ปาฐกถา "สมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร" ครั้งที่ 4

 

South-East Asia and International Criminal Law
ปาฐกถา "สมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร" ครั้งที่ 5

 

International Commissions of Inquiry, Human rights and Humanitarian Law: The United Nations, Syria and Beyond
ปาฐกถา "สมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร" ครั้งที่ 6
ดูเอกสาร English

 

Contemporary Challenges to Humanitarian Action
ปาฐกถา "สมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร" ครั้งที่ 7
ดูเอกสาร English

 

The Role of Women in Securing Peace, Justice, and Well-being
ปาฐกถา "สมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร" ครั้งที่ 8
ดูเอกสาร English

 

Aceh Peace Process (1999-2005): Keys to Final Solution
ปาฐกถา "สมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร" ครั้งที่ 9