โครงสร้างกรม

โครงสร้างกรม

วันที่นำเข้าข้อมูล 1 พ.ย. 2565

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 27 ก.ค. 2566

| 8,695 view

 

โครงสร้างกรม_2_แท่ง

กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย


ให้กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ มีภารกิจเกี่ยวกับปัญหากฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง สนธิสัญญา และเรื่องเขตแดนของประเทศ รวมทั้งประมวลศึกษา วิจัย ติดตาม วิเคราะห์แนวโน้มและพัฒนาการของกฎหมายระหว่างประเทศ ในกรอบองค์การสหประชาชาติ และองค์การระหว่างประเทศ โดยให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

 

  • ดำเนินการเกี่ยวกับปัญหากฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
  • ประมวล ศึกษา วิจัย ติดตามและวิเคราะห์ทางวิชาการเกี่ยวกับแนวโน้มและพัฒนาการของกฎหมายระหว่าง ประเทศในกรอบของสหประชาชาติ และองค์กรระหว่างประเทศ
  • ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องเขตแดนของประเทศไทย
  • แปลและตรวจสอบคำแปลสนธิสัญญา
  • ดำเนินการเกี่ยวกับสนธิสัญญา
  • ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

ให้แบ่งส่วนราชการกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ดังต่อไปนี้

  1. สำนักงานเลขานุการกรม
  2. กองกฎหมาย
  3. กองเขตแดน
  4. กองพัฒนางานกฎหมายระหว่างประเทศ
  5. กองสนธิสัญญา
  6. กลุ่มวิชาการและสารสนเทศกฎหมายระหว่างประเทศ

ส่วนราชการกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

1. สำนักงานเลขานุการกรม 

มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

  • ราชการทั่วไปของกรมและราชการที่มิได้แยกให้เป็นหน้าที่ของกองหรือส่วนราชการใดโดยเฉพาะ โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
  • ปฏิบัติงานสารบรรณของกรม
  • ดำเนินการเกี่ยวกับงานช่วยอำนวยการและงานเลขานุการของกรม
  • ดูแลด้านงบประมาณ บุคลากรและพัสดุให้เป็นไปตามนโยบาย
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

 

2. กองกฎหมาย

มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

  • ให้คำปรึกษาและความเห็นในปัญหากฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในที่เกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศ
  • พิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับกฎหมายแก่หน่วยงานของกระทรวง
  • พิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับสัญญาที่ทำโดยหน่วยงานของกระทรวงต่างประเทศในต่างประเทศ
  • ดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับให้ความรับผิดชอบของกระทรวงหรือของกรม รวมทั้งกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่กระทรวง ทบวง กรมอื่นรับผิดชอบเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัติที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมายระหว่างประเทศ
  • ดำเนินการเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธีด้วยวิธีการเจรจา การไต่สวน การไกล่เกลี่ย การประนีประนอม การอนุญาโตตุลาการ การดำเนินคดีในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศและศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ และการระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธีด้วยวิธีการอื่น
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

 

3. กองเขตแดน

มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

  • ให้ความเห็นเกี่ยวกับการตีความสนธิสัญญา เอกสาร และหลักฐานเกี่ยวกับเขตแดนและเขตอำนาจ
  • ให้คำปรึกษาทางกฎหมายและเจรจาเรื่องเขตแดนและเขตอำนาจ
  • ประสานการดำเนินการของรัฐบาลเกี่ยวกับงานคดีเรื่องเขตแดน และเขตอำนาจในศาลระหว่างประเทศหรืออนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

 

4. กองพัฒนางานกฎหมายระหว่างประเทศ 

มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

  • ประมวล ศึกษา วิจัย ติดตามและวิเคราะห์ทางวิชาการเกี่ยวกับแนวโน้ม และพัฒนาการของกฎหมายระหว่างประเทศ รวมทั้งผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อประเทศไทย
  • แปลสนธิสัญญาและเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องและอยู่ในความรับผิดชอบของกรม
  • ดำเนินการต่าง ๆ เกี่ยวกับการเข้าร่วมยกร่างกฎหมายระหว่างประเทศ
  • พิจารณา เสนอแนะท่าทีทางกฎหมายของรัฐบาลไทยในการเข้าร่วมประชุมระหว่างประเทศ
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

 

5. กองสนธิสัญญา

มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

  • พิจารณา ตีความ และให้ความเห็นเกี่ยวกับสนธิสัญญา
  • ดำเนินการเพื่อจัดทำและเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญา รวมทั้งบอกเลิกหรือถอนการเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญา
  • ดำเนินการและประสานงานเกี่ยวกับการพิจารณายกร่างพระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง และประกาศต่าง ๆ เพื่ออนุวัติการให้เป็นไปตามสนธิสัญญาที่ประเทศไทยทำกับต่างประเทศ
  • เก็บรักษาตัวบทสนธิสัญญาและตราสารอื่นที่เกี่ยวกับสนธิสัญญาที่ประเทศไทยทำกับต่างประเทศ
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

 

6. กลุ่มวิชาการและสารสนเทศกฎหมายระหว่างประเทศ

มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

  • ประมวล ศึกษา วิจัย ติดตามและวิเคราะห์ทางวิชาการเกี่ยวกับแนวโน้มและพัฒนาการของกฎหมายระหว่างประเทศที่สำคัญ รวมทั้งผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อประเทศไทย
  • ดำเนินภารกิจงานเลขานุการของคณะกรรมการพิเศษเพื่อพิจารณาอนุสัญญาต่าง ๆ
  • อนุรักษ์และเก็บรักษาเอกสารประวัติศาสตร์และแผนที่ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของกรม
  • รวบรวมและเก็บรักษาต้นฉบับสนธิสัญญาและตราสารอื่นที่เกี่ยวกับสนธิสัญญาที่ประเทศไทยทำกับต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ รวมทั้งพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเข้าถึงข้อมูล
  • ให้ความรู้ด้านกฎหมายระหว่างประเทศและสนธิสัญญาแก่บุคลากรภาครัฐและสาธารณชน ตลอดจนเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนเกี่ยวกับงานกฎหมายระหว่างประเทศ
  • ติดตามการดำเนินการเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายระหว่างประเทศกับองค์การสหประชาชาติ องค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ และองค์กรหรือสถาบันด้านกฎหมายระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นสมาชิก
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

เอกสารประกอบ

กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย.pdf