กิจกรรมเปิดตัวท่าทีของประเทศไทยในประเด็นการตีความและปรับใช้กฎหมายระหว่างประเทศในมิติไซเบอร์: Launch of Thailand's national position on international law in cybersapce

กิจกรรมเปิดตัวท่าทีของประเทศไทยในประเด็นการตีความและปรับใช้กฎหมายระหว่างประเทศในมิติไซเบอร์: Launch of Thailand's national position on international law in cybersapce

วันที่นำเข้าข้อมูล 10 ก.ค. 2568

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 10 ก.ค. 2568

| 19 view

เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2568 ประเทศไทยร่วมกับแคนาดาและ UNIDIR จัดกิจกรรมคู่ขนาน (side event) ในหัวข้อ Further building common understanding on international law and cyberspace: Launch of Thailand’s national position ณ สำนักงานใหญ่สหประชาขาติ ณ นครนิวยอร์ก เพื่อเปิดตัวท่าทีของประเทศไทยในประเด็นการตีความและปรับใช้กฎหมายระหว่างประเทศในมิติไซเบอร์ รวมถึงแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับพัฒนาการของการหารือในประเด็นการปรับใช้กฎหมายระหว่างประเทศในมิติไซเบอร์ ในห้วงการประชุม Open - ended Working Group (OEWG) on security of and in the use of informational and communications technologies (2021-2025) ครั้งที่ 11 ซึ่งเป็นกรอบการประชุมระหว่างรัฐบาลภายใต้สหประชาชาติครั้งสุดท้ายก่อนที่การประชุมดังกล่าวจะหมดอาณัติในเดือนกรกฏาคมนี้

ในโอกาสนี้ นายเชิดชาย ใช้ไววิทย์ เอกอัครราชทูตและผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติได้ร่วมกล่าวเปิด side event เน้นย้ำบทบาทสำคัญของกฎหมายระหว่างประเทศเพื่อกำกับพฤติกรรมของรัฐในมิติไซเบอร์อย่างมีความรับผิดชอบ รวมถึงความสำคัญของการมีท่าทีประเทศในเรื่องดังกล่าว ซึ่งนายปวีณ​ ธนรัช​ นักการทูตชำนาญการ (ที่ปรึกษา) ผู้แทนจากกระทรวงการต่างประเทศ ได้ร่วมเป็นผู้อภิปรายบนเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับกระบวนการจัดทำท่าทีประเทศ การมีส่วนร่วมและความสำคัญของการเสริมสร้างขีดความสามารถของหน่วยงานไทย โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระหว่างประเทศจากแคนาดา โคลอมเบีย สหรัฐอเมริกา และอียิปต์ ซึ่งได้จัดทำและเผยแพร่ท่าทีประเทศไปก่อนแล้ว มาเข้าร่วมอภิปรายและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นด้วย

การประชุม Open - ended Working Group (OEWG) on security of and in the use of informational and communications technologies จัดขึ้นตามข้อมติสมัชชาสหประชาชาติ ที่ 75/240 มีอาณัติในปี ค.ศ. 2021-2025 เพื่อเป็นเวทีให้รัฐสมาชิกฯ ได้ร่วมกันหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนากฎเกณฑ์หรือบรรทัดฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับการควบคุมพฤติกรรมของรัฐในมิติไซเบอร์ มีประเด็นหารือเกี่ยวข้องกับการกำหนดรูปแบบภัยคุกคาม (Existing and Potential Threats) มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (Confidence Building Measures) การเสริมสร้างขีดความสามารถของรัฐ (Capacity-building) และกฎหมายระหว่างประเทศ หลังจากการประชุม OEWG หมดอาณัติจะมีการจัดตั้งกลไกถาวรใหม่ภายใต้กรอบสหประชาชาติ (future permanent mechanism) เพื่อหารือประเด็นดังกล่าวต่อไป โดยรัฐสมาชิกสหประชาชาติอยู่ระหว่างการปรึกษาหารือเพื่อให้ได้ข้อสรุปถึงรูปแบบและประเด็นสำคัญที่จะมีการประชุมในกรอบใหม่นี้ต่อไป

***********

Launch of Thailand’s national position on international law in cyberspace

On 8 July 2025, Thailand, in collaboration with Canada and UNIDIR, hosted a side event ‘Further Building Common Understanding on International Law and Cyberspace: Launch of Thailand’s National Position’ on the margins of the 11th substantive session of the Open-ended Working Group (OEWG) on the security of and in the use of information and communications technologies (2021–2025) at the UNHQ,  New York. The event marked the formal launch of Thailand’s national position on the application of international law in cyberspace. It also provided an opportunity to exchange views on the evolving discussion on this particular issue at the OEWG.

At the event, Ambassador Cherdchai Chaivaivid, Thailand's Permanent Representative to the United Nations, delivered opening remarks emphasizing the crucial role of international law in promoting responsible behavior of States in the cyber domain. He also underscored the utility of formulating and publishing a national position on this matter. Counsellor Paween Thanarat, representative from the Ministry of Foreign Affairs of Thailand, one of panelists, also highlighted key elements of Thailand’s national position and shared insights on navigating the process of developing the national position, the importance of inclusive stakeholder participation, and capacity building for internal agencies. Moreover, experts from Canada, Colombia, the United States, and Egypt—countries that had previously published their national positions—joined the discussions and offered their perspectives in this regard.

The OEWG was established under UN General Assembly resolution 75/240 to provide a platform for dialogue among member states. It aims to develop common understandings on the security and use of information and communications technologies, addressing key issues such as existing and potential cyber threats, confidence-building measures, capacity-building and international law.

Following the OEWG’s mandate, Member States will establish a future permanent mechanism to continue addressing these cyber-related matters, with the format and areas of focus under consideration.

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ