กฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

กฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

วันที่นำเข้าข้อมูล 13 ธ.ค. 2565

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 19 ธ.ค. 2565

| 586 view

กฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศเป็นสาขาของกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการวางกฎเกณฑ์สำหรับการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึงหลายมิติ ทั้งการค้าสินค้า การค้าบริการ และการเคลื่อนย้ายแรงงาน การลงทุน โดยการเข้าเป็นภาคีในความตกลงทางการค้าระหว่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศจะส่งผลให้ประเทศไทยสามารถเข้าถึงตลาดต่างประเทศและปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ได้มากขึ้น อีกทั้งผู้บริโภคยังสามารถเข้าถึงสินค้าและบริการที่หลากหลายในราคาถูก ขณะเดียวกันผู้บริโภคและผู้ผลิตจะได้รับการป้องกันในเวทีการค้าระหว่างประเทศผ่านกลไกซึ่งอยู่ในความตกลงที่ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคี อาทิ องค์การการค้าโลก (World Trade Organization - WTO)

WTO เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งจัดตั้งขึ้นตามความตกลงมาร์ราเกช เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2538 โดยเป็นผลมาจากการเจรจาการค้าพหุภาคี (Multilateral Trade Negotiation) รอบอุรุกวัยในปี พ.ศ 2529 - 2537 ภายใต้ข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (General Agreement on Tariffs and Trade – GATT) ซึ่งประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิก GATT ในปี พ.ศ 2525 ผลจากการเข้าเป็นสมาชิก ทำให้ประเทศไทยมีพันธกรณีต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาต่าง ๆ ภายใต้กรอบ WTO นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีการทำความตกลงต่างๆกับหลายประเทศทั้งในเรื่องของการค้าและการลงทุน

บทความด้านกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่น่าสนใจ

- Thailand’s International Investment Agreements: Moving Towards A More Balanced Investment Protection Regime? 


- An Advisory Centre on International Investment Law: Is perfect the enemy of good? 

 

เอกสารด้านกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่น่าสนใจ
เอกสารประกอบการอภิปรายเกี่ยวกับความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิค (Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership: CPTPP) 

เอกสารประกอบการอภิปราย เรื่อง "ประเทศไทยกับการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ (United Nations Convention on Contracts for the International Sales of Goods : CISG) 

เอกสารประกอบการบรรยาย Asia Juris Webinar ในหัวข้อ "COVID Legal Drive - FDI Opportunities to Asia Pacific After COVID-19" 

บทความใกล้เคียง

กฎหมายไทย

กลไกการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศ

ASEAN

BIT [Bilateral Investment Treaty]

FTA[Free Trade Area]

WTO [World Trade Organization]