การจัดทำและเผยแพร่ท่าทีของประเทศไทยในประเด็นการปรับใช้และตีความกฎหมายระหว่างประเทศในมิติไซเบอร์

การจัดทำและเผยแพร่ท่าทีของประเทศไทยในประเด็นการปรับใช้และตีความกฎหมายระหว่างประเทศในมิติไซเบอร์

วันที่นำเข้าข้อมูล 4 ก.ค. 2568

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 4 ก.ค. 2568

| 27 view

กระทรวงการต่างประเทศได้จัดทำและเผยแพร่ท่าทีของประเทศไทยในประเด็นการปรับใช้และตีความกฎหมายระหว่างประเทศในมิติไซเบอร์ (Thailand’s National Position on the Application of International Law in Cyberspace) โดยเอกสารฉบับนี้เป็นผลลัพธ์จากกระบวนการปรึกษาหารือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย ได้แก่ สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ กรมพระธรรมนูญ กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพลังงาน กระทรวงคมนาคม ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล

เอกสารฉบับนี้ได้ระบุแนวทางการตีความหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่สามารถนำมาปรับใช้ในบริบทของไซเบอร์ อาทิ หลักอธิปไตยของรัฐ หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน หลักการไม่ใช้กำลัง หลักการระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี หลักความรับผิดชอบของรัฐ ฯลฯ ซึ่งเป็นการบรรจุท่าทีของประเทศไทยต่อการปรับใช้กฎหมายระหว่างประเทศในปัจจุบัน และเปิดช่องให้มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมท่าทีดังกล่าวให้สอดคล้องกับพัฒนาการการหารือระหว่างประเทศ และการพัฒนาของเทคโนโลยีในอนาคตได้

 

ทำไมไทยต้องมีท่าทีในเรื่องนี้

การจัดทำท่าทีนี้เป็นการดำเนินการเพื่อตอบสนองต่อข้อเรียกร้องตามรายงานการประชุมประจำปีของการประชุม Open – ended Working Group (OEWG) on security of and in the use of information and communication technologies (2021-2025) ที่สนับสนุนให้ประเทศต่าง ๆ เผยแพร่ท่าทีประเทศ เรื่องการปรับใช้กฎหมายระหว่างประเทศในมิติไซเบอร์รวมถึงสนับสนุนการเสริมสร้างขีดความสามารถ ด้านกฎหมายระหว่างประเทศเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันเรื่องการปรับใช้กฎหมายระหว่างประเทศ ในมิติไซเบอร์ ซึ่งอาจนำไปสู่การยกร่างตราสารที่มีผลบังคับทางกฎหมายต่อไป ปัจจุบัน มีประเทศต่าง ๆ จำนวน 32 ประเทศ และ 2 องค์การระหว่างประเทศที่สามารถจัดทำท่าทีประเทศร่วมกันได้ ได้แก่ สหภาพแอฟริกา สหภาพยุโรป

ดังนั้น​ การจัดทำท่าทีนี้​ จะช่วยในการจัดระเบียบโลกไซเบอร์ด้วยกฎหมายระหว่างประเทศแล้ว และยังเปรียบเสมือนเป็นเอกสารคู่มือเบื้องต้นให้กับหน่วยงานไทย เพื่อประกอบเป็นข้อพิจารณาการดำเนินการตอบโต้ปฏิบัติการทางไซเบอร์ รวมถึงสร้างกรอบการปฏิบัติการทางไซเบอร์ของหน่วยงานไทยให้สอดคล้องตามกฎหมายระหว่างประเทศอีกด้วย

อ่านฉบับเต็ม ที่นี่

************

Thailand’s National Position on the Application of International Law in the Cyberspace

Thailand is pleased to publish its first  Thailand’s National Position on the Application of International Law in Cyberspace. This document is the outcome of a number of national consultations among key Thai key agencies. The document outlines Thailand’s current views on how international law applies in cyber operations such as sovereignty, prohibition of non-intervention, prohibition of the use of force, peaceful settlement of disputes and State responsibility, which is subject to be revised in correspondence with future development of international dialogue and technological advancement.

This paper also responds to the call for States to share their national views on international law at the Open-ended Working Group (OEWG) on the security of and in the use of ICTs (2021–2025), in order to foster common understanding among States, mutual trust and maintain open, secure and stable ICTs environment. To date, 32 countries and 2 international organizations (the African Union and the European Union) have published their national positions.

In addition, this national position serves as a reference for Thai agencies to take into consideration when conducting cyber operations.

Read full text here

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ