การประชุมคณะทำงาน 3 ว่าด้วยการปฏิรูปกลไกการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชน สมัยที่ 40 ของ UNCITRAL

การประชุมคณะทำงาน 3 ว่าด้วยการปฏิรูปกลไกการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชน สมัยที่ 40 ของ UNCITRAL

วันที่นำเข้าข้อมูล 19 ก.พ. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 3 ส.ค. 2566

| 463 view

นางวิลาวรรณ มังคละธนะกุล อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ร่วมหารือแนวทางปฏิรูปกลไกการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชนภายใต้สนธิสัญญาด้านการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการอนุญาโตตุลาการเฉพาะกิจในปัจจุบัน ภายใต้กรอบการประชุมคณะทำงาน 3 สมัยที่ 40 ของคณะกรรมาธิการกฎหมายการค้าระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ ระหว่างวันที่ 8-12 กุมภาพันธ์ 2564
       ข้อเสนอของไทยซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางจากประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการกฎหมายการค้าระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ รวมถึงการจัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย การลงทุนระหว่างประเทศแก่ประเทศกำลังพัฒนา การจัดทำข้อบังคับอนุญาโตตุลาการสำหรับกรณี
การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชนโดยเฉพาะ การส่งเสริมการใช้กลไกการระงับข้อพิพาททางเลือก  การจัดทำจรรยาบรรณสำหรับอนุญาโตตุลาการ และการปรับปรุงเชิงกระบวนการในด้านอื่น ๆ ซึ่งไทย เชื่อว่าแนวทางเหล่านี้ เมื่อนำมาประกอบรวมกันจะนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่อกลไกการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชนในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น


Fortieth Session of UNCITRAL Working Group III on Investor-State Dispute Settlement Reform
       Dr. Vilawan Mangklatanakul, Director-General of the Department of Treaties and Legal Affairs, represented Thailand as the head of delegation at the 40th Session of the United Nations Commission on International Trade Law (UNCITRAL) Working Group III on 8-12 February 2021, held through online platform, as the Working Group engages in the global debate on the possible reform of Investor-State Dispute Settlement (ISDS) and seeks to address identified concerns regarding the current ad-hoc arbitration system.
       Thailand’s proposals for reform, which have been widely supported by the UNCITRAL Member States, include establishing an advisory centre for investment law to assist developing countries, developing arbitration rules for ISDS proceedings, promoting the use of alternative dispute resolution (ADR) techniques, introducing a code of conduct to ensure independence and impartiality of arbitrators and reform of other procedural aspects of ISDS, which we believe will be “building blocks” that create incremental but immediate and positive changes to the status quo.

************
 

เผยแพร่วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔